วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์จีน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี
รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์ฉิน (ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกได้ดังนี้
1.ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
2.ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
3.ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
4.ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว
ยุคโบราณ
ราชวงศ์เซี่ย (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
บทความหลัก ราชวงศ์เซี่ย

เขตแดนราชวงศ์เซี่ย 
" ติ่ง " ภาชนะดินเผาใช้ในการหุงหาอาหารปกครองจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซียนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน
ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานถึง 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ยซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์
 ราชวงศ์ซาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
บทความหลัก ราชวงศ์ซาง

เขตแดนราชวงศ์ซางราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก
การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจ้วหวัง ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของพวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 1046 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
บทความหลัก ราชวงศ์โจว

เขตแดนราชวงศ์โจวนักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
 ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย
ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น
เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก
 ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือ ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
บทความหลัก ยุคชุนชิว
หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ.หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง
 ยุคเลียดก๊กบทความหลัก ยุคเลียดก๊ก
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัฐเว่ย และ รัฐเจ้า ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
สมัยราชวงศ์
 ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
บทความหลัก ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉินนักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)
พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น
 ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)
บทความหลัก ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763)

เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น 
สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นเมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง
 ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)
ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง
ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก
เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
 ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่ , ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น
ค.ศ. 263 ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย
ค.ศ. 265 ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น
ค.ศ. 280 ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์
 ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)
บทความหลัก ราชวงศ์จิ้น

เขตแดนของราชวงศ์จิ้นสุมาเอี๋ยน (司马炎) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน(刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ(汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀) เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420)การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ
 ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)บทความหลัก ราชวงศ์เหนือใต้
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439
เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
เพิ่มเติมทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่าง้งียบ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อน ก่อนก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ
อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังค์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ
หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี
 ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)บทความหลัก ราชวงศ์สุย

เขตแดนราชวงศ์สุยสุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160)
ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร
 ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)บทความหลัก ราชวงศ์ถัง

ภาพเขตแดนราชวงศ์ถังหลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อกบฎและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450
 ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)
บทความหลัก ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแน่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี
 ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)
บทความหลัก ราชวงศ์ซ่ง

เขตแดนราชวงศ์ซ่ง 
สมเด็จพระจักรพรรดิซ่งไท่จู่ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งปีค.ศ. 960 เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง
ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)บทความหลัก ราชวงศ์หยวน

เขตแดนราชวงศ์หยวนยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
 ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)บทความหลัก ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา โดยท่านเจิ้งเหอ บางบันทึกที่ชาวอังกฤษเชื้อสายจีน บอกไว้ว่ามีหลักฐานแสดงว่าจีนเดินทางไปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
 ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)
บทความหลัก ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที"

เพื่อการศึกษา :'D


นาฏศิลป์

ประวัตินาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น
นอกจากนี้นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่นตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ฌ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดูนับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนีเรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน






ประเภทของนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ
    1. โขน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีสำคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
    2. ละคร เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป้นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุฑ นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งกายแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
    3. รำและระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตราฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขปดังนี้
      1. รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 1-2 คน เช่นการรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้า – เพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา – รามสูร เป็นต้น
      2. ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ – นางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่ง
    4. การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
      1. การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า“ ฟ้อน ” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปู่เจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
      2. การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นเมืองภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
      3. การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “ เซิ้ง ฟ้อน และหมอรำ “ เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้สนประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องและกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระโน็บติงต๊อง หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีคือ ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒรธรรมพื้นบ้าน ลักษณะที่รำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็วและสนุกสนาน
      4. การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นเมืองภาคใต้อาจแบ้งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำเปง มะโย่ง ( การแสดงละคร ) ลิเกฮูลู ( คล้ายลิเกภาคกลาง ) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด กลองโทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาชีพต่างๆ เช่น ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ เป็นต้น



ดนตรีและเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์
ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
    1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน – ละคร
    วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทยคือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นข้นอยุ่กับลักษณะของการแสดงนั้น ๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นต้น
  1. 1.2ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตราฐาน
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตราฐานและระบำมาตราฐานนั้น เครื่องดนตรีทีใช้ประกอบการแสดงอาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต๊อก และกลองแด๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
          1.3 ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่าง ๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
  1. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเหล็ก ) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแอว กลองปู่เจ่ กลองปูจา กลองสะบัดไชย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่าง ๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปู่จา วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเติ่งทิ้ง วงกลองปูจาและวงกลองสะบัดไชย
  2. ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทยคือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อำนาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอหรือปี่ เป็นต้น
  3. ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีสำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับแต่งและหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปราเตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมริน
  4. ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง ฆ้องคู่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวงภาคใต้ แกระ และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีต้าร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด
2.เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตราฐาน
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำและระบำมาตราฐาน
นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    1. เพลงหน้าพาทย์ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และนำเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้น
    2. เพลงขับร้องรับส่ง คือเพลงไทยทีนำมาบรรจุไว้ในบทโขน – ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละครหรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำแลระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น
2.2 เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคดังนี้
    1. เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงประกอบการฟ้อนเล็บได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและสาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรเลง เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้น
    2. เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงประกอบการเต้นรำกำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น
    3. เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงประกอบการแสดงเซิ้งโปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไทย บรรเลงลายลำภูไทย เป็นต้น
    4. เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็งบรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้น



 
การแต่งกายนาฏศิลป์ไทย
การแสดงนาฏศิลป์ไทย ทั้งโขนและละครนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัดคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด
เครื่องแต่งการนาฏศิลป์ไทยมีความวดวามและกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฎศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์(เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
1.    เครื่องแต่งตัวพระ คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชายประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
    2.    เครื่องแต่งตัวนาง คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นหญิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้

    สำหรับเครื่องแต่งตัวพระและนางดังกล่าวนี้ จะใช้แต่งกายสำหรับผู้ระบำมาตราฐาน เช่น ระบำสี่บท ระบำพรหมาสตร์และระบำกฤดาภินิหาร เป็นต้น และยังใช้แต่งกายสำหรับตัวละครในการแสดงละครนอกและละครในด้วย ส่วนในระบำเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำตรีลีลา ระบำไตรภาคี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ หรือระบำสัตว์ต่าง ๆ จะใช้เครื่องแต่งกายตามความเหมาะสมกับการแสดงนั้น ๆ เช่น นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบ และสวมชุดไทยต่าง ๆ เป็นต้น ตลอดจนยังมีการแสดงหรือการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นด้วย
    3.    เครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์ ) คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป้นตัวยักษ์ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
    4.    เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน) คือเเครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป้นตัวลิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น